คลินิกฝังเข็ม
ในเวลาราชการ
วันจันทร์-ศุกร์
รอบเวลา 8.30 น. , 9.30 น. , 10.30 น.
นอกเวลาราชการ
วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 16.30 น
วันเสาร์ เวลา 8.30 น. , 10.30 น.
02 – 5915455 ต่อ 6705
ในวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา
13.00-15.00 น.
กลุ่มผู้รับบริการเป็นผู้ป่วยในกลุ่มอาการปวดต่างๆ เช่น ปวดคอ ปวดหลัง ปวดเข่า ปวดไหล่ ปวดศรีษะ, ผู้ป่วยอัมพาติ/อัมพฤกษ์ในระยะแรก และโรคอื่นๆซึ่งอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ฝังเข็มแต่ละท่าน โดยตามทฤษฎีแพทย์แผนจีนเชื่อว่าการฝังเข็มทำให้ระบบลมปราณหมุนเวียนดีขึ้น และช่วยปรับสมดุลของร่างกาย นอกจากนี้แพทย์แผนปัจจุบันมีการศึกษาพบว่า การฝังเข็มทำให้เกิดการหลั่งสารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เอนเดอร์ฟิน ซึ่งช่วยระงับอาการปวดและมีสารบางอย่างที่ไปช่วยลดอาการอักเสบและเพิ่มการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณที่มีการอักเสบ
กลุ่มผู้รับบริการ
กลุ่มผู้รับบริการเป็นผู้ป่วยในกลุ่มอาการปวดต่างๆ เช่น ปวดคอ ปวดหลัง ปวดเข่า ปวดไหล่ ปวดศรีษะ, ผู้ป่วยอัมพาติ/อัมพฤกษ์ในระยะแรก และโรคอื่นๆซึ่งอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ฝังเข็มแต่ละท่าน
ตามทฤษฎีแพทย์แผนจีนเชื่อว่าการฝังเข็มทำให้ระบบลมปราณหมุนเวียนดีขึ้น และช่วยปรับสมดุลของร่างกาย นอกจากนี้แพทย์แผนปัจจุบันมีการศึกษาพบว่า การฝังเข็มทำให้เกิดการหลั่งสารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เอนเดอร์ฟิน ซึ่งช่วยระงับอาการปวดและมีสารบางอย่างที่ไปช่วยลดอาการอักเสบและเพิ่มการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณที่มีการอักเสบ
ขั้นตอนการรับบริการภายใน
๑. ผู้ป่วยที่จะเข้ารับบริการในคลินิกฝังเข็มได้นั้น ต้องผ่านการตรวจประเมินจากแพทย์ฝังเข็มในคลินิกตรวจรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูก่อนทุกราย และมีการส่งนัดเข้าคลินิกฝังเข็มเท่านั้น
๒. ผู้ป่วยที่ได้รับการนัดเข้าคลินิกฝังเข็มแล้วจะมีใบนัดฝังเข็มตามรอบเวลา โดยรอบเวลาฝังเข็มนั้นอาจแตกต่างกันไปตามตารางแพทย์แต่ละท่าน
๓. ขั้นตอนการรับบริการเมื่อมีใบนัดฝังเข็ม
๓.๑ ยื่นใบนัดตามรอบเวลาก่อนถึงเวลานัด 30 นาที ที่คลินิกฝังเข็ม
๓.๒ ติดต่อห้องบัตรเพื่อรับใบสั่งการรักษา
๓.๓ วัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก คัดกรองที่คลินิกฝังเข็ม
๓.๔ แพทย์ฝังเข็ม
๓.๕ รับใบนัดฝังเข็มครั้งถัดไป
๓.๖ คีย์ข้อมูลโต๊ะ 3
๓.๗ คิดราคา ชำระเงิน รับยา(ถ้ามี)
ข้อควรปฏิบัติก่อนเข้ารับบริการ
๑. รับประทานอาหารก่อนการฝังเข็ม เนื่องจากมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นลมได้ง่าย
๒. พักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอ ไม่อ่อนเพลีย
๓. ไม่ส่วมใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่นจนเกินไป
๔. ต้องไม่เป็นผู้ป่วยที่มีข้อห้ามในการฝังเข็ม เช่น ตั้งครรภ์ โรคเลือดที่มีความผิดปกติของระบบการแข็งตัวของเลือด